ความรู้เกี่ยวกับชุดป้องกันสารเคมี

ระดับชุดปฏิบัติงานสารเคมี

 

ชุดปฏิบัติงานสารเคมีมีการแบ่งระดับตามความสามารถในการป้องกันสารเคมีอย่างชัดเจนคือระดับ A, B, C และ D ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักบริหารการป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสหรัฐฯ (EPA) ทั้งนี้ เสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ในแต่ละระดับจะใช้ในการปฏิบัติงานขั้นเริ่มต้นของสถานการณ์ที่ระบุไว้ แต่หากปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทางที่เลวร้ายขึ้นก็ต้องเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันของเสื้อและอุปกรณ์เป็นระดับที่สูงขึ้น เช่น หากมีแนวโน้มความเป็นพิษสูงขึ้นหลังจากปฏิบัติงานไประยะหนึ่ง ควรจะใช้ชุดหมีไทเว็กซ์ (Tyvex coverall)หรือชุดกันกระเซ็นทำด้วยพีวีซี (PVC splash suits) สวมทับชุดป้องกันเดิมที่ใช้ในการทำงานอยู่ก่อนหน้านั้น

 

ชุดป้องกันระดับ A (Level A)

 

https://www.supersafetythailand.com/wp-content/uploads/2013/12/Tychem-Chemical-Suit-Level-A-Rear-Entry-TK650-lg.jpg

 

องค์ประกอบหลัก (Principle)

– ชุดป้องกันไอสารเคมี (Vapor protective suit) ที่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐาน NFPA 1991

– เครื่องช่วยหายใจชนิดบรรจุอากาศในตัว (SCBA) ประกอบด้วย ถังอากาศอัดความดันและหน้ากากชนิดเต็มหน้า

– ถุงมือชั้นในชนิดต้านทานสารเคมี (Inner chemical-resistant gloves)

– รองเท้าบู๊ทนิรภัยชนิดต้านทานสารเคมี (Chemical-resistant safety boots)

– วิทยุสื่อสารที่รับและส่งได้ในตัว (Two- way radio communication)

องค์ประกอบเสริม (Optional)

-ระบบทำความเย็น (Cooling system)

– ถุงมือชั้นนอก (Outer gloves) สำหรับสวมทับถุงมือชั้นใน

-หมวกแข็ง (Hard hat)

การป้องกัน (Protection Provide)

– ป้องกันระบบหายใจให้นะระดับสูงสุด

– ป้องกันผิวหนังและตาจากสารเคมีทั้ง ที่เป็นของแข็ง ของเหลวและก๊าซ

ใช้งานเมื่อ (Use When)

– สามารถระบุชนิดของสารเคมีซึ่งมีระดับอันตรายสูงต่อระบบหายใจผิวหนังและตา

– สารที่มีอยู่เป็นที่ทราบหรือสงสัยว่ามีความเป็นพิษต่อผิวหนังหรือสามารถก่อมะเร็งได้

– การปฏิบัติงานจะต้องเข้าไปในพื้นที่อับอากาศ หรือมีการระบายอากาศในระดับต่ำ

ข้อจำกัด (Limitation)

– เนื้อผ้าที่ใช้ป้องกันต้องมีคุณสมบัติต่อต้านการซึมผ่าน (Resist permeation) ของสารเคมีหรือส่วนผสมที่มีอยู่

– องค์ประกอบของชุดป้องกันทั้งหมดจะต้องมีคุณสมบัติเข้ากันได้ (Integration) กับสิ่งแวดล้อมขณะนั้นและประสิทธิภาพการป้องกันต้องไม่ลดลง

 

 

ชุดป้องกันระดับ B (Level B)

https://www.supersafetythailand.com/wp-content/uploads/2013/12/51d722c2a0d879956843c1fb39fc5d3b.jpg

 

องค์ประกอบหลัก (Principle)

– ชุดป้องกันการกระเซ็นของสารเคมีที่เป็นของเหลว (Liquid splash-protective suit)ที่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐาน NFPA 1992

– เครื่องช่วยหายใจชนิดบรรจุอากาศในตัว (SCBA) ประกอบด้วย ถังอากาศอัดความดันและหน้ากากชนิดเต็มหน้า

– ถุงมือชั้นในชนิดต้านทานสารเคมี (Inner chemical-resistant gloves)

– รองเท้าบู๊ทนิรภัยชนิดต้านทานสารเคมี(Chemical-resistant safety boots)

– วิทยุสื่อสารที่รับและส่งได้ในตัว (Twoway radio communication)

– หมวกแข็ง (Hard hat)

องค์ประกอบเสริม (Optional)

– ระบบทำความเย็น (Cooling system)

– ถุงมือชั้นนอก (Outer gloves) สำหรับสวมทับถุงมือชั้นใน

การป้องกัน (Protection Provide)

– ป้องกันระบบหายใจในระดับเดียวกับชุดป้องกันระดับ A

– ป้องกันผิวหนังในระดับต่ำกว่าระดับชุดป้องกันระดับ A

– ป้องกันกระเซ็นของสารเคมีที่เป็นของเหลว แต่ไม่ป้องกันสารเคมีที่เป็นไอหรือก๊าซ

ใช้งานเมื่อ (Use When)

– สามารถระบุชนิดของสารเคมีได้ แต่ไม่ต้องการการปกป้องผิวหนังในระดับสูง

– มีการสำรวจเริ่มแรกในพื้นที่จนกระทั่งระบุอันตรายในระดับที่สูงขึ้นได้

– สามารถระบุได้ว่าอันตรายหลักในพื้นที่ภายในเป็นอันตรายจากสารเคมีในสถานะของเหลวและไม่ใช่การสัมผัสไอสาร

ข้อจำกัด (Limitation)

– เนื้อผ้าที่ใช้ป้องกันต้องมีคุณสมบัติต่อต้านการซึมผ่าน (Resist permeation) ของสารเคมีหรือส่วนผสมที่มีอยู่

– องค์ประกอบของชุดป้องกันทั้งหมดจะต้องมีคุณสมบัติเข้ากันได้ (Integration) กับสิ่งแวดล้อมขณะนั้น และประสิทธิภาพการป้องกันต้องไม่ลดลง

 

ชุดป้องกันระดับ C (Level C)

https://www.supersafetythailand.com/wp-content/uploads/2013/12/1n1qmb.jpg

องค์ประกอบหลัก (Principle)

– เสื้อผ้าสนับสนุนการป้องกัน (Support Function Protective Garment) ที่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐาน NFPA 1993

– หน้ากากป้องกันเต็มหน้าที่ติดไส้กรองอากาศ (Full-facepiece, air-purifying, canister-equipped respirator)

– ถุงมือป้องกันสารเคมีและรองเท้าบู๊ทนิรภัย (Chemical resistant gloves and safety boots)

– วิทยุสื่อสารที่รับและส่งได้ในตัว (Twoway communications system)

– หมวกแข็ง (Hard hat)

องค์ประกอบเสริม (Optional)

– กระบังหน้า (Faceshield)

– เครื่องช่วยหายใจ SCBA สำหรับการหนี (Escape SCBA)

การป้องกัน (Protection Provide)

– ป้องกันผิวหนังได้ในระดับเดียวกับชุดป้องกันระดับ B

– ป้องกันระบบหายใจได้ในระดับที่น้อยกว่าชุดป้องกันระดับ B

– ป้องกันการกระเซ็นของสารเคมีที่เป็นของเหลวแต่ไม่ป้องกันไอสารหรือก๊าซ

ใช้เมื่อ (Use When)

– เมื่อมีการสัมผัสกับสารเคมีที่ไม่มีผลกระทบต่อผิวหนัง

– มีการตรวจวัดชนิดและปริมาณของสารปนเปื้อนแล้ว

– ไส้กรองที่ใช้กับหน้าสามารถขจัดการปนเปื้อนได้

– มีการระบุลักษณะพิเศษของสารและอันตรายที่มีอยู่ได้

ข้อจำกัด (Limitation)

– เนื้อผ้าที่ใช้ป้องกันต้องมีคุณสมบัติต่อต้านการซึมผ่าน (Resist permeation) ของสารเคมีหรือส่วนผสมที่มีอยู่

– ปริมาณส่วนผสมสารเคมีที่ลอยอยู่ในอากาศจะต้องต่ำกว่าระดับที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพอย่างเฉียบพลัน (IDLH)

– ในบรรยากาศจะต้องมีผสมของก๊าซออกซิเจนไม่น้อยกว่า 19.5%

– ไม่ยอมรับให้ใช้ในปฏิบัติการตอบโต้เหตุฉุกเฉินสารเคมี (Not Acceptable for Chemical Emergency Response)

ชุดป้องกันระดับ D (Level D)

https://www.supersafetythailand.com/wp-content/uploads/2013/12/dpp_tychemsl.jpg

องค์ประกอบหลัก (Principle)

– ชุดหมี (Coveralls),

– บู๊ทนิรภัย/รองเท้านิรภัย (Safety boots/shoes)

– แว่นตานิรภัย หรือ ที่ครอบตากันการกระเซ็น (Safety glasses or chemical splash goggles)

องค์ประกอบเสริม (Optional)

– ถุงมือ

– เครื่องช่วยหายใจ SCBA สำหรับการหนี(Escape SCBA)

– กระบังหน้า (Faceshield)

การป้องกัน (Protection Provide)

– ไม่ป้องกันระบบหายใจ

– ป้องกันผิวหนังในระดับต่ำ

ใช้เมื่อ (Use When)

– ในบรรยากาศมีอันตรายไม่ทราบชนิด

– ในพื้นที่มีการปฏิบัติงานได้มีการป้องกันอันตรายต่างๆ ไว้แล้ว เช่น การกระเซ็น การจุ่ม หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อระบบหายใจหรือการสัมผัสสารเคมีอันตรายโดยตรง

ข้อจำกัด (Limitation)

– ไม่สามารถใช้ในพื้นที่ที่มีความร้อน

– ในบรรยากาศจะต้องมีส่วนผสมของก๊าซออกซิเจน ไม่น้อยกว่า 19.5%

– ไม่ยอมรับให้ใช้ในปฏิบัติการตอบโต้เหตุฉุกเฉินสารเคมี (Not Acceptable for Chemical

Emergency Response)

หมายเหตุ

– ชนิดของอุปกรณ์ที่ใช้และระดับการป้องกันทั้งหมดควรจะได้รับการวัดค่าเป็นระยะๆตามข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์สารเคมีหรือกระบวนการต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงกรณีผู้ปฏิบัติงานมีการทำงานที่แตกต่างไปจากเดิม ทั้งนี้ระดับการป้องกันของบุคลากรจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับการอนมุติของหัวหน้าผู้ปฏิบัติในพื้นที่ (Site supervisor) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (Safety officer) หรือนักอาชีวอนามัยประจำโรงงาน (Plant industrial hygienist)

– ชุดป้องกันระดับต่างๆ ที่นำเสนอไปแล้วข้างต้น เป็นเพียงการแนะแนวทางเท่านั้นการนำไปใช้ในสถานการณ์จริงจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบว่ามีความเหมาะสมหรือเพียงพอที่จะป้องกันอันตรายที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งได้รับการประเมินหรือวัดค่าแล้วหรือไม่โดยมีสิทธิอันชอบธรรมจะโต้แย้งข้อมูลที่ระบุไว้ได้ว่าให้การป้องกันที่ไม่เพียงพอในแต่ละกรณี

– ระดับการป้องกันของชุดป้องกันสารเคมีตาม EPA ไม่ได้ระบุชัดถึงประสิทธิภาพของชุดที่เลือกใช้ว่าจะต้องมีค่าเท่าใด แต่ในส่วนของข้อจำกัดสามารถจะนำมาใช้อ้างอิงได้ อย่างไรก็ตาม สมควรที่จะต้องหาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆรวมทั้งข้อมูลของผู้ผลิตสินค้าเสริมเข้ามาเพื่อให้การตัดสินใจมีความถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น

 

ขอบคุณเว็ปเพื่อนบ้าน : https://safetyshopthailand.com/

Save

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *