มลพิษทางขยะ ปัญหาล้นโลกที่ทุกคนต้องเปลี่ยนแปลง
ขยะ คือ สิ่งสกปรกที่มนุษย์ไม่ต้องการ แต่ขยะก็ผลิตโดยฝีมือมนุษย์ และทิ้งขว้างได้ทุกที่โดยปราศจากจิตสำนึก จนกระทั่งเกิดเป็นมลพิษทางขยะแล้วย้อนกลับมาทำร้ายมนุษย์เป็นรูปแบบโรคติดต่อ แหล่งกำเนิดพาหะนำโรค หากขยะอันตรายที่ฝังกลบใต้ดิน จะทำให้ดินบริเวณนั้นมีโลหะหนักสะสมอยู่ ดินเสื่อมสภาพ มีผลกระทบต่อพืชและสัตว์ หากเผาขยะอันตรายจะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศ ขยะจึงกลายเป็นปัญหาทั่วโลกที่ทุกคนต้องร่วมมือกันเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่การทิ้ง คัดแยก และการกำจัดให้ถูกวิธี
วิกฤตขยะไทยก่อมลพิษ ทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะกำจัดขยะไม่ถูกต้องกว่า 39%
กรมอนามัย เผยประเทศไทยปี 61 มีขยะกว่า 27.8 ล้านตัน โดยขยะทั้งหมดนี้กำจัดไม่ถูกต้องกว่า 39% พบแหล่งท่องเที่ยวมีขยะตกค้างทำลายทัศนียภาพกว่า 27% ส่วนการกำจัดที่ถูกต้องมีเพียง 34% ส่วนขยะที่ถูกคัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่มีแค่ 1.64% เท่านั้น
จากสถิติการสำรวจพบว่า ขยะถูกทิ้งลงทะเลกว่า 1 ล้านตันต่อปี สถานที่ท่องเที่ยวในไทยที่สำคัญอย่าง เขาใหญ่ ดอยอินทนนท์ เขาพระวิหาร หมู่เกาะพีพี มีขยะสะสมแต่ละแห่งกว่าหมื่นกิโลกรัม โดยทิ้งไม่ถูกต้อง จนสะสมเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรค กลิ่นเหม็น บางแหล่งลักลอบทิ้งลงแหล่งน้ำ-ทะเล เชิงเขา ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ทำลายระบบนิเวศ
เมื่อขยะจากประเทศเจริญแล้ว ถูกขนส่งมาทิ้งในทวีปเอเชีย
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่กลุ่มประเทศอาเซียน คือแหล่งทิ้งขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ของโลก จากเดิมจีนเป็นประเทศที่รับขยะมาจากทั่วโลกมากสุดกว่า 9 ล้านตันต่อปี แต่เมื่อปี 2560 จีนเลิกรับขยะเพื่อลดมลพิษในประเทศ ทำให้เส้นทางการขนส่งขยะทยอยเข้ากลุ่มประเทศแถบเอเชีย โดยเฉพาะมาเลเซียที่กลายเป็นเจ้าภาพรับขยะอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุด ส่วนฟิลิปปินส์นำเข้าขยะเพิ่มขึ้นกว่าสี่เท่าตัว และไทยรับขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นกว่าสามเท่า โดยรวมปริมาณขยะเป็นจำนวนกว่า 1 แสนตัน
หลายประเทศเริ่มตื่นตัวและพบว่าขยะที่นำเข้าล้วนมาจากสาเหตุคอรัปชั่น การเอื้อหนุนผลประโยชน์ ส่วนรายการใบขนส่งที่มาจากประเทศต้นทางก็ไม่ตรงกับขยะในตู้คอนเทนเนอร์ที่ส่วนมากเป็นขยะเหม็นเน่าคละคลุ้งเมื่อเปิดประตูคอนเทนเนอร์ออกมาจนต้องส่งกลับคืนไปยังประเทศเดิม
เมื่อหลายฝ่ายรวมทั้ง เมียนมาร์ และเวียดนาม เริ่มตื่นตัวเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องไม่ธรรมสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียนเปรียบเสมือนบ่อขยะของโลก ดังนั้นเส้นทางการเดินขยะจึงมุ่งไปยังอินโดนีเซีย บ่อขยะแห่งใหม่ของโลก
การกระทำเช่นนี้จึงไม่เป็นธรรมที่สุดสำหรับสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรที่จะกระทบภายในประเทศ เพราะหากขยะอันตรายถูกฝังกลบที่ใด ก็พร้อมส่งผลกระทบต่อประชาชนในประเทศนั้น ที่สำคัญยังมองว่าเป็นการกระทำที่น่าขยะแขยงที่สุดจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ให้เหล่าประเทศกลุ่มอาเซียนได้รับชะตากรรมเอง
ลดปัญหามลพิษทางขยะได้ หากทำการคัดแยกก่อนการกำจัด
ขยะที่เกิดขึ้นจากทั่วโลกนั้นมาจากแหล่งสำคัญคือชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรม ในถังขยะหนึ่งใบประกอบไปด้วย เศษอาหาร เศษแก้ว พลาสติก เศษไม้ กระดาษ ขวดน้ำ ใบไม้ อิเล็กทรอนิกส์ ขวดสารเคมีอันตราย แต่การทิ้งขยะโดยไม่คัดแยกก่อนจะทำให้เกิดมลพิษได้ง่าย ทั้งทางดิน อากาศ เกิดกลิ่นเหม็นเน่า เชื้อโรค สารพัด
วิธีการที่ดีคือต้องทำการคัดแยกประเภทขยะก่อนการทิ้งทุกครั้ง ดังนี้
- ขยะเปียก เป็นขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น เศษอาหาร เศษผักผลไม้
- ขยะแห้ง เป็นขยะที่ย่อยสลายยาก เช่น กระดาษ ไม้ โลหะ แก้ว พลาสติก
- ขยะอันตราย เช่น สารเคมีการเกษตร ยาฆ่าแมลง วัตถุมีพิษ หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย
ในขณะเดียวกันขยะที่คัดแยกเริ่มแยกประเภทย่อย เพื่อนำไปรีไซเคิลใหม่ได้หรือต้องกำจัดทิ้ง เช่น พลาสติก ขยะติดเชื้อ
วิธีการกำจัดขยะจะแตกต่างกันตามประเภทขยะ เช่น การนำไปเผาในเตา นำไปทำปุ๋ยหมัก การรีไซเคิล นำไปเป็นอาหารสัตว์ หรือการฝังกลบที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล
โรงานผลิตไฟฟ้าจากขยะ ประเทศสวีเดน ที่ (คน) ไทยต้องเอาอย่าง
ประเทศสวีเดนเป็นประเทศตัวอย่างในการกำจัดขยะแล้วเกิดประโยชน์สูงสุด เพราะสวีเดนสามารถนำขยะเข้าสู่โครงการผลิตไฟฟ้า พลังงานที่ได้จากเชื้อเพลิงขยะสามารถส่งมอบไฟฟ้าให้กับบ้านเรือนในประเทศกว่า 20% หรือเกือบ 800,000 หลังคาเรือน และดูเหมือนว่าจะเพิ่มขึ้นมากเรื่อย ๆ จนต้องนำร้องขอให้ประเทศเพื่อนบ้านส่งขยะมาให้เพื่อผลิตไฟฟ้า ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องง่ายที่ทุกประเทศอยากทำบ้าง
แต่ทราบหรือไม่ว่า ประชากรสวีเดนตระหนักถึงมลพิษทางขยะมากที่สุด และคัดแยกขยะก่อนทิ้งทุกครั้ง จึงทำให้การผลิตไฟฟ้าจากขยะเป็นเรื่องง่าย เพราะขยะที่จะเข้าเตาเผาได้นั้นต้องเป็นขยะแห้ง ไม่ใช่ขยะสารพิษ แม้แต่พลาสติกหรือโฟมก็ห้ามเด็ขาด ซึ่งไม่เหมือนในไทยที่ถังขยะใบเดียวจะรวมขยะทุกประเภท
ความแตกต่างจากจุดเล็ก ๆ นี้เอง จึงทำให้สวีเดนกลายเป็นประเทศที่สะอาด แม้ว่าจะใช้ขยะสร้างเชื้อเพลิงเพียงแค่ 10% ในประเทศเท่านั้น แต่กลับเป็นขยะที่ปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสภาพอากาศ เมื่อทำการเผาไหม้ จึงต้องนำเข้าขยะอีกกว่า 90% มาจากอังกฤษ ฝรั่งเศส และไอร์แลนด์ ที่คัดแยกขยะมาแล้วอย่างดี แต่หากไทยคิดจะนำส่งขยะของเราไปบ้าง คงไม่ผ่านอย่างแน่นอน
นี้จึงเป็นปัญหาหลักในประเทศไทยเรา คือการไม่คัดแยกขยะให้ชัดเจน จึงไม่สามารถผลิตไฟฟ้าจากขยะได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และกลายเป็นปัญหามลพิษขยะเรื้อรัง บางชุมชนกลายเป็นบ่อขยะขนาดภูเขา ทำให้คนชุมชนชมเดือนร้อนและออกมาประท้วงเรียกร้องอยู่บ่อยครั้ง
เรื่องของขยะจะไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกเลย ถ้าคนทั้งโลกลด ละ เลิกผลิตขยะ คัดแยกขยะให้ชัดเจน ก็ทำให้โลกใบนี้น่าอยู่ ปราศจากมลพิษทั้งทางดิน อากาศ และในน้ำ ปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็ป https://nipponsafety.com/ https://thailandsafety.com/, https://teamsafetysales.com/, https://jorporsafety.com , https://safetyshopthailand.com
จำหน่ายอุปกรณ์เซฟตี้