อบรมที่อับอากาศ 4 ผู้ หลักสูตรอินเฮ้าส์ บริการวิทยากรผู้เชี่ยวชาญการทำงานในที่อับอากาศ

อบรมที่อับอากาศ คืออะไร

ปัจจุบันเรามักจะพบว่าสาเหตุการตายจากการทำงานในที่อับอากาศนั้นมาจากพนักงานที่ปฏิบัติงานและนายจ้างไม่มีความรู้เกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศได้อย่างถูกต้องส่งผลให้หน้างานไม่มีมาตรการควบคุมป้องกันอันตรายอย่างเพียงพอ กฎหมายได้มีการออกประกาศบังคับให้สถานประกอบกิจการที่มีสถานที่อับอากาศนั้นต้องทำตามข้อกำหนดเงื่อนไขและวิธีโดยจัดให้พนักงานที่ทำงานในที่อับอากาศต้องผ่านการฝึกอบรมการทำงานในสถานที่อับอากาศ 4 ผู้ก่อนจึงจะสามารถอนุญาตให้ทำงานได้ โดยปัจจุบันกฎหมายได้ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยของคนทำงานในที่อับอากาศเป็นอย่างมาก และ คุมเข้มเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศซึ่งนายจ้างไม่ว่าจะเป็นโรงงานหรือผู้รับเหมาจะต้องปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายดังกล่าวอย่างเคร่งครัด การจัดฝึกอบรมการทำงานในที่อับอากาศ ผู้จัดจะต้องศึกษารายละเอียดการฝึกอบรมการทำงานในที่อับอากาศให้ละเอียดเพื่อที่จะได้ทำได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายได้ประกาศและบังคับใช้ต่อไป ดูรายละเอียดการจัดฝึกอบรมได้ด้านล่าง

 

หลักการและเหตุผล

นับจากปี 2546 – 2557 พบผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศจำนวน 14 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตจำนวน 45 ราย เกิดเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม 10 ครั้ง และนอกโรงานอุตสาหกรรม 4 ครั้ง โดยมีสาเหตุหลักมาจาก (คณาธิศ เกิดคล้าย, 2557)
(1) การขาดอากาศหายใจ คือ ในพื้นที่ดังกล่าวมีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5% หรือมากกว่าร้อยละ 23.5% โดยปริมาตร
(2) มีสารเคมีไวไฟ คือ ในพื้นที่ปฏิบัติงานมีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินร้อยละ 10% ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (lower flammable limit หรือ lower explosive limit) และ
(3) มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย สารพิษ แต่ละชนิดเกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
(4) อื่นใดที่อาจจะมีอันตราย เป็นต้น

ทั้งนี้สภาพแวดล้อมดังกล่าวสามารถพบได้ในพื้นที่ ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศไม่เพียงพอ จนทำให้ก๊าซออกซิเจนต่ำหรือสูงเกินกว่าที่มนุษย์จะสามารถดำรงชิวิตอยู่ได้ หรือเกิดจากการสะสมของก๊าซพิษและสารไวไฟ ซึ่งสภาพแวดล้อมดังกล่าวเรียกว่า พื้นที่อับอากาศ (Confined Spaces)

จากปัญหาดังกล่าว กิจการหรือสถานประกอบการ จำเป็นต้องพิจารณาให้ความสำคัญในการบริหารจัดการเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับพนักงานเมื่อต้องเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ โดยการบริหารจัดการนั้นสามารถพิจารณาได้จาก กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอานมัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๒ หมวด ๒ มาตรการความปลอดภัย ได้แก่ การบริหารจัดการด้านสภาพแวดล้อมพื้นที่อับอากาศ, การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายและระงับเหตุฉุกเฉิน และการให้ความรู้กับผู้ที่ปฏิบัติงาน ในการให้ความรู้นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากความรู้ความเข้าใจเป็นพื้นฐานของพฤติกรรมปลอดภัย ล่าสุดจากประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ กฎหมายใหม่ปี 2564 ตาม

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 11 มีนาคม 2564 และมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน (10 เมษายน 2564)

หมวด 2 หลักสูตรการฝึกอบรม ข้อ ๗ หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ มีดังน้ี

(1) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต

(2) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน

(3) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ

(4) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

(5) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (4 ผู้)

(6) หลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยในการทางานในที่อับอากาศ

ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนดรวมถึง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้กับพนักงานที่ต้องเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ กิจการหรือสถานประกอบการ จึงจำเป็นต้องจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตร การฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ดังกล่าวนี้

วัตถุประสงค์

 

1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานในพื้นที่อับอากาศได้

2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในบาทบาทหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับ การทำงานในที่อับอากาศ

3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการตรวจสอบสภาพพื้นที่ และตรวจสอบความพร้อมก่อนที่จะเข้าทำงานในที่อับอากาศ

4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจระบบขออนุญาตทํางานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการ อนุญาตทํางานในที่อับอากาศ

5) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถตรวจสอบอุปกรณ์และควบคุมดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานใช้เครื่องป้องกันอันตรายและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

6) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถบริหารจัดการกรณีเกิดเหตุอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานหรือเหตุฉุกเฉินในพื้นโดยรอบ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

 

– พนักงานระดับ ผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือปฏิบัติการ ของหน่วยงาน ที่จะต้องเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ หรือบุคคลที่สนใจ

– มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัว

 

เราพร้อมช่วยเหลือคุณเสมอ

โทร 062-9842669