มาตรฐานการจัดเก็บสารเคมีไวไฟ 29 CFR 1910.106

ากการปฏิวัติอุตสาหกรรม การใช้สารเคมีที่ไม่มีส่วนประกอบของน้ำได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเพิ่มขึ้นนี้จึงทำให้มีโอกาสในการเกิดอันตรายเกี่ยวกับสารเคมีเหล่านี้มากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงอันตรายกับสุขภาพของคนงานและทรัพย์สิน

อันตรายอย่างหนึ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้คือการลุกไหม้ ในการป้องกันเพลิงไหม้ ของเหลวอันตรายเหล่านี้จะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษในการจัดเก็บ การจัดการและการใช้  หน่วยงานป้องกันเพลิงไหม้แห่งชาติ National Fire Protection Agency (NFPA) และ International Code Council(ICC) ได้กำหนดรหัสเกี่ยวกับเพลิงไหม้และแนวทางการจัดเก็บที่ปลอดภัยและการใช้ของเหลวที่ไวไฟและติดไฟได้  แนวทางเหล่านี้ไม่ใช่ข้อบังคับ นอกจากรัฐบาล, รัฐ หรือหน่วยงานท้องถิ่นเลือกนำมาบังคับใช้  ในทางตรงกันข้าม หน่วยงานเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยในหารทำงาน (OSHA) ได้ปรับปรุงข้อบังคับสำหรับอุตสาหกรรมทั่วไป (29 CFR 1910.106), อุตสาหกรรมก่อสร้าง (29 CFR 1926.152) และอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ (29 CFR 1915.36) เอกสารนี้มีวัตถุประสงค์ในการกล่าวถึงข้อกำหนดของอุตสาหกรรมโดยทั่วไปเท่านั้น

 

ไวไฟหรือติดไฟ?

เพื่อทำความเข้าใจกับข้อกำหนดของ OSHA สำหรับการจัดเก็บของเหลวที่ไวไฟและติดไฟได้ เราจะต้องเริ่มโดยการแยกความหมายของสองคำนี้ก่อน  ของเหลวไวไฟคือของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 100° F (37.8° C) (ยกเว้นส่วนผสมที่มีส่วนประกอบที่มีจุดวาบไฟที่ 100° F (37.8° C) หรือสูงกว่า , และมีปริมาณรวมไม่เกิน 99 เปอร์เซ็นต์ของส่วนผสม)(1910.106(a)(19)). ของเหลวไวไฟถูกแบ่งออกได้เป็นสามกลุ่มดังต่อไปนี้

 

  • Class IA

ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 73° F (22.8° C) และมีจุดเดือดต่ำกว่า 100°F (37.8°C) (1910.106(a)(19)(i)) ตัวอย่างเช่น อะเซทาลดีไฮด์ , เอธิล อีเทอร์ และ ไซโคลเฮกเซน

 

  • Class IB

ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 73° F (22.8° C) และมีจุดเดือดเท่ากับหรือสูงกว่า 100° F (37.8°C) (1910.106(a)(19)(ii)) ตัวอย่างเช่น อะซีโตน , เบนซิน, และโทลูอีน

 

  • Class IC

ของเหลวที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือสูงกว่า 73° F (22.8° C) และต่ำกว่า 100° F (37.8°C) (1910.106(a)(19)(iii)) ตัวอย่างเช่น ไฮดราซีน , สไตรีน และ เทอร์เพนทีน ของเหลวที่ติดไฟได้คือของเหลวที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือสูงกว่า  100° F (37.8° C) (1910.106(a)(18)) ของเหลวที่ติดไฟได้ถูกแบ่งออกเป็นสองแบบ

 

  • Class II

ของเหลวที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือสูงกว่า 100° F (37.8° C) และต่ำกว่า  140° F (60° C), ยกเว้นส่วนผสมที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือสูงกว่า 200°F (93.3°C) ซึ่งมีปริมาณในส่วนผสมเท่ากับหรือมากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร (1910.106(a)(18)(i)) ตัวอย่างเช่น กรดอะซิติก , นาล์ฟทา และตัวทำละลายสตอดดาร์ด เป็นต้น

 

  • Class III

ของเหลวที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือมากกว่า 140°F (60°C) (1910.106(a)(18)(ii)) ของเหลวคลาส  III ถูกแบ่งย่อยได้เป็นอีกสองคลาสย่อยคือ

 

  • Class IIIA

ของเหลวที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือสูงกว่า 140°F (60°C) และต่ำกว่า 200°F ยกเว้นส่วนผสมที่มีส่วนประกอบที่มีจุดวาบไฟที่ 200°F (93.3°C) หรือสูงกว่า และมีปริมาตร 99 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่าในส่วนผสมนั้น (1910.106(a)(18)(ii)(a)) ตัวอย่างเช่น ไซโคลเฮกซานอล , กรดฟอร์มิก และไนโตรเบนซีน

 

  • Class IIIB

ของเหลวที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือสูงกว่า 200°F (93.3°C) (1910.106(a)(18)(ii)(b)) ตัวอย่างเช่น ฟอร์มาลีน และกรดพิคริค

 

*จากหัวข้อ 1910.106(a)(18)(ii)(b) ของเหลวในClass IIIB จะรวมไปถึงของเหลวที่มีจุดวาบไฟเท่ากับหรือสูงกว่า 200°F (93.3°C)  ในเอกสารส่วนนี้จะไม่รวมถึงของเหลวClass IIIB ถ้ามีการกล่าวถีงของเหลวClass III ในที่นี้จะหมายถึงเฉพาะของเหลว Class IIIA  เท่านั้น (ของเหลวClass IIIB ในเอกสารนี้ใช้ในการอ้างอิงเท่านั้น)

 

*หมายเหตุ : เมื่อของเหลวที่ติดไฟได้ถูกให้ความร้อนถึง 30°F (16.7°C) ของจุดวาบไฟ มันจะต้องถูกตัดการตามข้อกำหนดของของเหลวคลาสที่ต่ำกว่าถัดไป (1910.106(a)(18)(iii)).จุดวาบไฟและจุดเดือดจะบอกถึงคลาสของของเหลว อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้สิ่งนี้เป็นเกณฑ์ในการบอกถึงความเป็นอันตรายของของเหลวแต่เพียงอย่างเดียว มีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายประการที่ควรจะนำมาพิจารณาสำหรับการใช้และการจัดเก็บของเหลวที่เหมาะสม ปัจจัยเหล่านี้รวมถึง อุณหภูมิจุดระเบิด , ระดับการระเบิด (LEL หรือ UEL), ความดันไอ, ความถ่วงจำเพาะ และความหนาแน่นของไอ

 

ถังบรรจุที่ปลอดภัย (Safety Storage)

เทคนิคอย่างหนึ่งในการลดอันตรายที่เกี่ยวกับของเหลวไวไฟและติดไฟได้คือการใช้ถังบรรจุที่ปลอดภัย  OSHA ได้ให้คำนิยามของถังบรรจุที่ปลอดภัยว่า “ภาชนะบรรจุที่ได้รับการอนุมัติใช้ และความจุไม่เกิน 5 แกลลอน มีฝาปิดที่มีสปริงและมีแผ่นกั้นบริเวณปากถังและถูกออกแบบให้มีที่ระบายแรงดันกรณีที่อยู่ภายใต้ไฟ” (1910.106(a)(29)) คำนิยามนี้ ทำให้มีถังบรรจุที่หลากหลายที่ได้รับการตีความว่าเป็นถังบรรจุที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม กฎหมายท้องถิ่นหลายๆแห่งและบริษัทประกันภัยได้กำหนดให้ถังบรรจุจะต้องผ่านการรับรองโดยองค์กรด้านโรงงานอุตสาหกรรม Factory Mutual (FM) หรือ รับรองโดยห้องปฏิบัติการ Underwriter Laboratory(UL) องค์กรทั้งสองนี้เป็นองค์กรอิสระที่มีห้องปฏิบัติการที่ได้รับความเชื่อถือซึ่งผู้ผลิตได้ส่งสินค้าเข้าไปตรวจสอบเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดความปลอดภัยในการใช้งานและตรงกับงาน ถังบรรจุที่สอดคล้องกับข้อกำหนดจะได้รับการรับรองจากทั้ง FM และ UL   ห้องปฏิบัติการทั้งสองแห่งยังได้รับการรับการยอมรับจาก OSHA

 

นอกเหนือจากการจัดเก็บของเหลวที่ไวไฟและติดไฟได้ในภาชนะบรรจุที่ปลอดภัย, ข้อกำหนดหมายเลข 29 CFR 1910.106 ยังได้จำกัดปริมาณของของเหลวในภาชนะแต่ละถัง ตารางต่อไปนี้แสดงปริมาณของเหลวที่ยอมให้บรรจุสำหรับของเหลวแต่ละคลาส

 

ขนาดใหญ่ที่สุดที่ยอมได้ของภาชนะบรรจุและถังโลหะ
ชนิดของถังบรรจุของเหลวไวไฟของเหลวติดไฟ
คลาส IAคลาส IBคลาส ICคลาส IIคลาส III
แก้วหรือพลาสติกที่ได้รับอนุมัติ1 ควอท1 ควอท1 แกลลอน1 แกลลอน1 แกลลอน
โลหะ(ที่ไม่ใช่ถังแบบ DOT)1 แกลลอน.5 แกลลอน5 แกลลอน5 แกลลอน5 แกลลอน
ถังบรรจุที่ปลอดภัย2 แกลลอน5 แกลลอน5 แกลลอน5 แกลลอน5 แกลลอน
ถังโลหะ (ตามข้อกำหนด DOT)60 แกลลอน60 แกลลอน60 แกลลอน60 แกลลอน60 แกลลอน
ถังโลหะแบบพกพาที่ได้รับอนุมัติ660 แกลลอน660 แกลลอน660 แกลลอน660 แกลลอน660 แกลลอน

 

ข้อยกเว้นสำหรับกฎนี้

  • ยา , เครื่องดื่ม , อาหาร , เครื่องสำอาง และสินค้าอุปโภคที่คล้ายคลึงกัน หากได้รับการบรรจุหีบห่อตามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป

 

ข้อกำหนดหมายเลข 29 CFR 1910.106 ยังได้จำกัดปริมาณของของเหลวที่เก็บอยู่นอกตู้หรือห้องเก็บ  ปริมาณของของเหลวที่สามารถเก็บภายนอกห้องเก็บหรือตู้ในพื้นที่อาคารจะต้องไม่เกินปริมาณต่อไปนี้

 

  • 25 แกลลอน สำหรับของเหลว คลาส IA ในภาชนะบรรจุ
  • 120 แกลลอน สำหรับของเหลว คลาส IB, IC, II หรือ III ในภาชนะบรรจุ
  • 660 แกลลอน สำหรับของเหลว คลาส  IB, IC, II หรือ III liquids ในถังบรรจุเดี่ยวแบบพกพา

 

ปริมาณของของเหลวที่จัดเก็บและตำแหน่งของตู้เก็บอยู่ในข้อบังคับหมายเลข 1910.106 (d)(3) ซึ่งระบุว่า “ไม่ให้เก็บของเหลวคลาส I หรือคลาส II เกินจำนวน 60 แกลลอน หรือของเหลวคลาส III เกินจำนวน 120 แกลลอน ในตู้เก็บ”  และ ตามข้อกำหนดหมายเลข NFPA 304.3.2 ให้มีตู้สำหรับจัดเก็บไม่เกินสามตู้ในพื้นที่เสี่ยงต่อเพลิงไหม้พื้นที่เดียวกัน

 

 

ตู้จัดเก็บสารไวไฟ Flammable Storage Cabinet Requirements

พื้นฐานในการป้องกันไฟอีกอย่างหนึ่งคือการใช้ ตู้จัดเก็บสารไวไฟ   NFPA, OSHA และ UFC ได้กำหนดให้ตู้จัดเก็บสารไวไฟได้รับการออกแบบและสร้างตามข้อกำหนด  ข้อกำหนดหมายเลข 1910.106(d)(3)(ii)(a) ได้ระบุว่า ตู้โลหะจะต้องสร้างตามลักษณะดังนี้

 

  • ด้านล่าง, ด้านบน และด้านข้างของตู้จะต้องใช้แผ่นเหล็กอย่างน้อยเบอร์ 18
  • ตู้จะต้องมีผนังสองชั้นและมีช่องว่างอากาศ 1 ½ นิ้ว
  • ต้องยึดรอยต่อด้วยหมุด , การเชื่อม , หรือทำให้แน่นโดยวิธีการที่เทียบเท่ากันนี้
  • ประตูจะต้องมีจุดยึดสามจุด
  • ประตูจะต้องมีร่องพับขึ้นอย่างน้อย 2 นิ้วเหนือแนวล่างสุด เพื่อเห็บของเหลวที่อาจกระเด็นให้อยู่ภายในตู้เก็บ
  • ตู้เก็บจะต้องมีป้ายแจ้งว่า  “ไวไฟ ห้ามนำไฟเข้ามาใกล้”

 

ข้อบังคับนี้ มีข้อกำหนดสำหรับตู้เก็บที่ทำด้วยไม้ ข้อกำหนดหมายเลข  1910.106(d)(3)(ii)(b) ระบุว่า ตู้เก็บที่ทำด้วยไม้ จะต้องสร้างโดยมีลักษณะดังนี้

 

  • ผนังด้านล่าง, ด้านบน และด้านข้างของตู้เก็บจะต้องทำด้วยไม้อัดซึ่งเป็นเกรดสำหรับใช้ภายนอกและหนาอย่างน้อย 1 นิ้ว
  • ไม้อัดจะต้องไม่แตกออกจากกันหรือแยกออกขณะเกิดเพลิงไหม้
  • ข้อต่อจะต้องมีการบากและยึดด้วยสกรูไม้ที่มีหัวเรียบทั้งสองทิศทาง
  • หากใช้ประตูสองบาน จะต้องมีรอยทาบซ้อนกันไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว
  • ประตูจะต้องมีกลอนและบานพับที่ไม่หลวมเมื่อเกิดเพลิงไหม้
  • ฐานของประตูหรือถาดควรจะถูกยกพับขึ้นอย่างน้อย 2 นิ้ว เหนือพื้นตู้ เพื่อเก็บของเหลวที่กระเด็นให้คงอยู่ภายในตู้
  • ตู้เก็บจะต้องมีป้ายแจ้งว่า  “ไวไฟ ห้ามนำไฟเข้ามาใกล้”

 

นอกเหนือจาก ข้อกำหนดตามที่ได้กล่าวมาด้านบน UFC ( Uniform Fire Code) ยังกำหนดให้ใช้ประตูที่ปิดเองได้องค์กรท้องถิ่นหลายๆ แห่งก็ใช้มาตรฐานนี้ในการสร้างข้อกำหนดขึ้นมาใช้ในท้องถิ่นเอง

 

พื้นที่เสี่ยงต่อเพลิงไหม้  

OSHA ไม่ได้ให้คำนิยามความหมายของพื้นที่เสี่ยงต่อเพลิงไหม้มาในมาตรฐาน , อย่างไรก็ตาม พื้นที่เสี่ยงต่อเพลิงไหม้ได้ถูกกำหนดโดย NFPA Code 30 (1.6.15) ว่า “พื้นที่ของอาคารที่แยกจากพื้นที่อื่นๆ โดยการก่อสร้าง สามารถต้านทานไฟได้อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง และอุปกรณ์สื่อสารจะต้องถูกป้องกันอย่างเหมาะสมโดยสามารถทนต่อไฟไหม้อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง

นอกจากนี้ NFPA ยังได้ให้จัดให้มีการแบ่งกลุ่มของตู้เก็บสารไวไฟในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ไม่มีผนังกั้นระหว่างแต่ละส่วน “ในโรงงานอุตสาหกรรม, ตู้ที่มีเพิ่มเติมสามารถตั้งไว้ในพื้นที่เดียวกันได้ ถ้าตู้หรือกลุ่มของตู้ที่เพิ่มขึ้นมามีไม่มากกว่าสามตู้ และวางแยกห่างจากตู้หรือกลุ่มตู้อื่นๆ อย่างน้อย 100 ฟุต (30 เมตร) ( ข้อ 4.3.2 ข้อยกเว้นที่ 1)

 

คำถามที่ถูกถามบ่อย

 

ถามเมื่อทำการจ่ายของเหลวไวไฟ ฉันจำเป็นจะต้องใช้สายผูกยึดหรือต่อสายดินหรือไม่ ?
ตอบตามข้อกำหนดหมายเลข 1910.106(e)(6)(ii), จำเป็นต้องใช้สายผูกยึดหรือสายดินกับของเหลวคลาส I เท่านั้น , อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของท่าน ควรต่อสายดินเสมอเมื่อทำการจ่ายของเหลวไวไฟหรือของเหลวที่ติดไฟได้
ถามฉันจำเป็นจะต้องมีตู้เก็บสารไวไฟหรือไม่ ?
ตอบOSHA ไม่ได้กำหนดให้จะต้องใช้ตู้เก็บสารไวไฟ นอกจากจำนวนรวมของของเหลวไวไฟหรือของเหลวที่ติดไฟได้มีมากกว่าที่กำหนด องค์กรท้องถิ่นหรือบริษัทประกันอาจกำหนดให้ใช้ตู้เก็บสารไวไฟในปริมาณสารที่น้อยกว่าข้อกำหนดของ OSHA
ถามอะไรคือข้อแตกต่างของถังบรรจุที่ปลอดภัยแบบ I และแบบ II ?
ตอบถังบรรจุที่ปลอดภัยแบบ I สามารถมีปากถังที่ใช้รินออกหรือเติมของเหลวเข้าไปที่เดียวกันได้ ถังบรรจุที่ปลอดภัยแบบ II จะมีช่องเปิดสองที่ สำหรับรินออกหนึ่งช่องและสำหรับเติมหนึ่งช่อง
ถามที่ดักจับเปลวไฟคืออะไรละมีหน้าที่อะไร?
ตอบที่ดักจับเปลวไฟคือตาข่ายหรือแผ่นโลหะที่ถูกเจาะให้เป็นรูและใส่ไว้ในภาชนะเก็บสารไวไฟ(เช่นถังบรรจุที่ปลอดภัย, ตู้) ซึ่งป้องกันสิ่งที่อยู่ภายในจากเปลวไฟหรือประกายไฟภายนอก มันยังสามารถระบายความร้อนได้ ถังบรรจุแบบ I และแบบ II และถังแบบพิเศษจะมีที่ดักจับเปลวไฟรวมอยู่ด้วย
ถามตู้เก็บสารไวไฟจำเป็นต้องมีการระบายอากาศทางกลหรือไม่ ?
ตอบOSHA ไม่ได้กำหนดให้ใช้การระบายอากาศโดยทางกล NFPA แนะนำให้ใช้การระบายอากาศโดยทางกลแต่จะต้องระบายอากาศโดยสอดคล้องกับ NFPA 91 ระบบระบายไอเสียสำหรับสารที่แพร่กระจายในอากาศ

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็ป https://nipponsafety.com/   https://thailandsafety.com/https://teamsafetysales.com/https://jorporsafety.com/

อุปกรณ์เซฟตี้กับทีมเซฟตี้ คำถามเพิ่มเติมติดต่อ E-mail : teamsafetysales@gmail.com

#รองเท้าเซฟตี้ #อุปกรณ์เซฟตี้ #แว่นเซฟตี้ #ถุงมือเซฟตี้ #อุปกรณ์จราจร

ตอบโจทย์ได้ทุกคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัย

สอบถามสินค้า หาสินค้าที่ต้องการไม่พบ ติดต่อเราได้ค่ะ

 Tel : 02-017-4242 MP:096-8931168 Line ID:@aro1988r Email : teamsafetysales@gmail.com

line @

Save