หลักความปลอดภัยเกี่ยวกับเลเซอร์
นับตั้งแต่เริ่มมีการใช้เลเซอร์ในห้องทดลองในช่วงปี ค.ศ. 1960 ก็ได้มีการพิจารณาถึงความปลอดภัยในการใช้เลเซอร์ ซึ่งอันตรายที่เกิดจากเลเซอร์มี 3 ส่วนหลัก ๆ คือ
- อันตรายจากลำแสงเลเซอร์ ซึ่งจะมีผลต่อนัยน์ตาของคนเรามากกว่าส่วนอื่นของร่างกาย
- อันตรายจากความต่างศักย์สูง ที่อยู่ในเลเซอร์และแหล่งจ่ายไฟ
- อันตรายจากสารเลเซอร์ ในเลเซอร์บางชนิด เช่น Dye laser, Eximer laser
อันตรายต่อนัยน์ตา
ลำแสงเลเซอร์กำลังสูง เช่นที่ใช้สนการตัดเหล็ก หรือแม้กระทั่งแกะสลักไม้ ก็สามารถทำอันตรายผิวหนังได้ แต่ที่อันตรายที่สุดคือ เมื่อลำแสงเลเซอร์เข้าตา เพราะตาเป็นส่วนที่ไวแสงมากที่สุด นอกจากนี้เลนส์แก้วตายังรวมแสงให้โฟกัสบนเรตินา ทำให้ความเช้มแสงสูงมากขึ้นกว่าที่ตกบนแก้วตาประมาณ 1 แสนเท่า!
หลายคนคงทราบว่าการจ้องมองดวงอาทิตย์ตอนกลางวันเพียงครู่หนึ่ง สามารถทำให้ตามองไม่เห็นได้ชั่วครู้ และการให้ลำแสงเลเซอร์ที่มีความเข้ม มากพอเข้าสู่ตา สามารถทำให้ตาบอดได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง ไม่เพียงแต่ความเข้มแสงเท่านั้น ยังขึ้นกับความยาวคลื่นแสง และช่วงเวลาที่ได้รับแสงด้วย
ปัจจัยอันตราย: ความยาวคลื่นแสง
ความยาวคลื่นเป็นเรื่องค่อนข้างสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ แม้ว่าตาของมนุษย์เราสามารถเห็นแสงที่มีความยาวคลื่นได้เฉพาะช่วง 400 – 700 นาโนเมตร แต่ไม่ว่าแสงความยาวคลื่นช่วงไหน ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ถ้าเข้าถึงตาก็สามรารถทำอันตรายอย่างมากได้
โดยทั่วไปแล้ว แสงในช่วง 400 – 1500 นาโนเมตร ซึ่งครอบคลุมช่วงที่ตาเรามองเห็นและช่วงที่เป็นอินฟราเรด จะสามารถผ่านเลสน์ตาเข้าไปถึงเรตินาได้ ซึ่งช่วงที่เป็นอินฟราเรดไม่ว่าจะมีความเข้มมากขนาดไหน เราก็ไม่สามารถเห็นได้ แต่จะสามารถทำอันตรายต่อเรตินาได้ เช่นเดียวกับคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ ที่อยู่ในช่วงอนฟราเรด ก็สามารถตัดผ้าหรือเจาะหม้ได้ ส่วนแสงในช่วงอัลตราไวโอเลต (ความยาวคลื่นประมาณ 100 – 400 นาโนเมตร) แม้ว่าจะผ่านไปถึงเรตินาได้ไม่ดีเท่ากับช่วง 400 – 1500 นาโนเมตร แต่สามาถทำอันตรายต่อแก้วตาและเลนส์ส่วนนอกได้ ซึ่งจะทำให้ตาบอดถาวรได้เช่นกัน
การจะเข้าใจรายละเอียดในเรื่องเหล่านี้ก็ต้องเข้าใจว่าตามีส่วนประกอบเป็นอย่างไร และมีสมบัติเชิงแสง อย่างเช่น ค่าการดูดกลืนแสง เป็นอย่างไร ถ้าจะสรุปโดยง่ายก็คือ เลเซอร์ ไม่ว่าช่วงความยาวคลื่นไหน ๆ ก็สามารถทำอันตรายต่อตามนุษย์ถึงขนาดทำให้ตาบอดได้ การปล่อยเลเซอร์ชนิดที่เป็นพัลส์และต่อเนื่อง ก็มีอันตรายแตกต่างกัน เลเซอร์ชนิดพัลส์โดยเฉพาะที่มีช่วงเวลาของพัลส์น้อยกว่า มิลลิวินาที เพียงแค่พัลส์เดียวก็อาจจะทำให้ตาบอดได้ แต่ถ้าเป็นแบบต่อเนื่องก็จะต้องใช้เวลานานกว่านี้ในการทำอันตรายต่อตา
ปัจจัยอันตราย: ระยะห่างจากแหล่งกำเนิด
ระยะห่างจากแหล่งกำเนิดแสงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งต้องทำความเข้าใจให้ดี ถ้าลำแสงเลเซอร์เข้าตาไม่ว่าเราจะอยู่ห่างเท่าใด ก็ยังมีอันตรายค่อนข้างสูง เพราะแสงที่ออกจากเลเซอร์มีสมบัติประการสำคัญที่แตกต่างจากแสงจากแหล่งอื่นๆ คือ แสงจะคงสภาพเป็นลำแสงค่อนข้างดี ไม่ค่อยบานออกมากนัก ทำให้ความเข้มแสงของแสงเลเซอร์ที่ระยะห่างต่าง ๆ จากเลเซอร์จะไม่แตกต่างกัน ถ้าเป็นกรณีที่แสงเลเซอร์ไปตกกระทบหรือสะท้อนผิววัสถุที่ขรุขระก่อน อาจทำให้แสงที่สะท้อน ออกมากลดสภาพการเป็นลำแสงลงไปบ้าง โดยแสงจะบานออกค่อนข้างเร็ว นั่นคือถ้าอยู่ห่างจากจุดที่สะท้อน ก็จะทำให้ลดอันตรายจากแสงได้ เพราะแสงมีความเข้มน้อยลง แต่ถ้าแสงสะท้อนจากวัสดุที่เป็นกระจกหรือโลหะเรียบ ๆ ก็ยังคงมีสภาพเป็นลำแสง และมีความเข้มสูง ซึ่งเป็นอันตรายเหมือนกับการมองลำแสงโดยตรงที่ไม่ได้สะท้อนอะไรเลย
อันตรายต่อผิวหนัง
ส่วนกรณีที่แสงเลเซอร์ตกกระทบผิวหนังก็ยังมีอันตรายอยู่ แม้ว่าจะน้อยกว่ากรณีที่แสงเข้าตา เพราะผิวหนังจะสามารถสะท้อนแสง ได้ส่วนหนึ่ง และส่วนใหญ่จะไม่ไวต่อแสงมากนัก แต่ถ้าความเข้มของเลเซอร์สูงพอ ก็อาจตัดหรือทะลุผิวหนังทำให้เป็นแผลได้ และควรระวังในกรณีที่เป็นแสงเลเซอร์ทในช่วงอัลตราไวโอเลต เพราะแสงในช่วงนี้สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของเซลล์ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดเป็นมะเร็งได้
การป้องกันอันตรายจากแสงเลเซอร์
จากอันตรายที่ได้กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าแสงเลเซอร์ไม่ว่าจะมีประโยชน์มากเพียงใด ก็ยังสามารถเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ ดังนั้นจึงควรจะต้องมีความระมัดระวังในการใช้งาน ผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะมีความเข้าใจในเลเซอร์ที่ใช้อยู่ โดยสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
- อย่าให้เลเซอร์เข้าตา
คงไม่มีใครอยากจะจ้องลำแสงเลเซอร์ตรง ๆ แต่แสงเลเซอร์อาจจะเข้าตาเราได้ โดยที่เราคาดไม่ถึง เช่น เกิดจากการสะทั้อน หรือเป็นช่วงที่เรามองไม่เห็น ดังนั้นการป้องกันทำได้ดังนี้- จัดทางเดินของแสงให้เหมาะสม เช่น ไม่ให้อยู่ในระดับสายตาพอดี (ควรสูงกว่าตาหรือต่ำกว่าตา) พยายามกำจัดสิ่งต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดการสะท้อนแสงเลเซอร์มาเข้าตาโดยที่เราคาดไม่ถึง
- มีเครื่องป้องกันแสงส่วนที่ไม่ต้องการออกจากเลเซอร์ หรืออุปกรณ์ที่เราใช้งาน เช่น มีฉากกั้นแสง เพื่อกั้นแสงทั้งที่สะท้อนหรือกั้นลำแสงโดยตรงซึ่งอาจจะออกมาได้
- ใส่แว่นตาพิเศษ เป็นการป้องกันที่ตัวเราเอง โดยแว่นนี้จะลดความเข้มแสงลงจนอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อตาของเรา ซึ่งแว่นตานี้ก็จะเป็นชนิดไหน ลักษณะอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับความยาวคลื่นแสงและความเข้มของแสงเลเซอร์ที่ออกมา ควรจะใส่แว่นตานี้ทุกครั้งที่ทำทำงานหรือเข้าไปในบริเวณที่มีการใช้งานแสงเลเซอร์
- ให้ระวังมากขึ้นเป็นพิเศษถ้าเลเซอร์ที่เราใช้งานเป็นแสงในย่านที่มองไม่เห็น เช่น อินฟราเรด หรืออัลตราไวโอเลต เพราะแสงที่มองไม่เห็นก็ทำให้ตาบอดได้
- คิดอยู่เสมอว่าเลเซอร์เป็นของอันตราย ถ้าใช้ไม่ระมัดระวัง โดยอาจป้องกันได้ดังนี้
- กันบริเวณการใช้งานเลเซอร์ออกจากบริเวณอื่น ๆ เช่น มีห้องเป็นสัดส่วน
- มีป้ายเตือน ทั้งที่ตัวเลเซอร์ และบริเวณห้อง หรือสถานที่ใช้งาน เพื่อให้บุคคลทั่วไปรู้ว่ามีแสงเลเซอร์ในบริเวณนั้น
- สร้างจิตสำนึกว่าเลเซอร์เป็นของอันตราย ถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ซึ่งจะต้องควบคู่กับการสร้างความเข้าใจว่าเลเซอร์คืออะไร แสงเลเซอร์มีลักษณะพิเศษอย่างไร มีอันตรายอย่างไร
ระดับความอันตรายของเลเซอร์ (Laser Classes and Safety)
เนื่องจากเลเซอร์มีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีหลายแบบ กำลังความเข้มก็แตกต่างกัน อันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้ก็แตกต่างกันไปมากบ้างน้อยบ้าง หรือบางอันอาจจะไม่เกิดอันตรายเลยแม้จะจ้องลำแสงสัก 5 นาที แต่บางชนิดเพียงแค่แสงสะท้อนจากขอบแผ่นพลาสติกก็อาจทำให้ตาบอดได้ ดังนั้นระดับของความระมัดระวัง การป้องกัน ก็จะแตกต่างกันไป ไม่ใช่ว่าเลเซอร์ชนิดใดก็มีมาตรการป้องกันเข้มงวดที่สุดเหมือนกันหมด เช่น ถ้าใช้ฮีเลียมนีออนเลเซอร์ ขนาด 1 ไมโครวัตต์ ก็ไม่ต้องสร้างห้องพิเศษ ไม่ต้องใส่แว่นตาป้องกัน ด้วยเหตุนี้จึงมีการแบ่งระดับความอันตรายของเลเซอร์ โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ (Class) ดังนี้
ระดับที่ 1 (Class 1)
เป็นเลเซอร์ที่กำลังน้อยมากจนถือได้ว่าปลอดภัย โดยเลเซอร์ระดับนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อ ตา ผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งในการใช้งานเลเซอร์ระดับชั้นนี้ไม่ต้องมีการควบคุม หรือมีเครื่องหมายเตือน นอกจากป้ายติดไว้ที่เลเซอร์ว่าเป็นเลเซอร์ระดับที่ 1 ตัวอย่างเช่น ฮีเลียมนีออนเลเซอร์ขนาด 1 ไมโครวัตต์
ระดับที่ 1M (Class 1M: Magnifier)
เลเซอร์ระดับที่ 1M ประกอบด้วยเลเซอร์ที่ให้กำลังมากกว่าเลเซอร์ระดับที่ 1 แต่มีลำแสงที่ diffuse นั่นหมายถึงลำแสงสามารถขยายออกได้โดยใช้อุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์
เท่าที่พบมา เลเซอร์ระดับนี้ไม่ทำให้เกิดอันตราย
ระดับที่ 2 (Class 2)
เลเซอร์ในระดับนี้จะเป็นเลเซอร์ที่กำลังต่ำและมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงที่สามารถเห็นได้ (ความยาวคลื่นในช่วง 400-700 นาโนเมตร) โดยมีกำลังไม่เกิน 1 มิลลิวัตต์ และต้องเป็น ชนิดต่อเนื่องเท่านั้น เลเซอร์ในระดับชั้นนี้ไม่ได้จัดว่าปลอดภัยเหมือนเลเซอร์ระดับที่ 1 แต่มีอันตรายไม่มากนักและถ้าแสงเลเซอร์ในระดับชั้นนี้เข้าตา การหลับตาทันทีที่รู้ว่าแสงเข้า ซึ่งปกติจะเร็วมาก (ประมาณ 0.25 วินาที) ก็จะเป็นการป้องกันอันตรายที่เพียงพอ เพราะช่วงเวลาที่รับเอาแสงจะสั้นมากจนไม่เป็นอันตราย ตัวอย่างของเลเซอร์ในระดับที่ 2 นี้ได้แก่ ฮีเลียมนีออนเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 632.8 นาโนเมตร (สีแดง) และมีกำลังไม่เกิน 1 มิลลิวัตต์ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในห้องทดลองระดับชั้นมัธยมหรือการทดลองพื้นฐานในระดับ มหาวิทยาลัย สำหรับมาตรการป้องกันที่ใช้คือ การติดป้ายที่เลเซอร์ แสดงว่าเป็นเลเซอร์ระดับที่ 2 และการมีป้ายเตือน
เท่าที่พบมา เลเซอร์ระดับนี้ไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่ให้หลีกเลี่ยงการจ้องไปที่ลำแสง
ระดับที่ 2M (Class 2M: Magnifier)
เลเซอร์ระดับที่ 2M ประกอบด้วยเลเซอร์ประเภทเดียวกับในระดับที่ 2 แต่ให้กำลังมากกว่าเลเซอร์ระดับที่ 2 และมีลำแสงที่ diffuse นั่นหมายถึงลำแสงสามารถขยายออกได้โดยใช้อุปกรณ์ทางทัศนศาสตร์
ให้หลีกเลี่ยงการจ้องไปที่ลำแสง
ระดับที่ 3R (Class 3R: Restricted)
ประกอบด้วยเลเซอร์ทั้งในย่านที่ตามองเห็นและมองไม่เห็น
ย่านที่ตามองเห็น (ความยาวคลื่นช่วง 400 – 700 นาโนเมตร): ประกอบด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังอยู่ระหว่าง 1 มิลลิวัตต์ ถึง 5 มิลลิวัตต์
ย่านที่ตามองไม่เห็น (เช่น อินฟราเรด และอัลตราไวโอเลต): ประกอบด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังมากกว่ากำลังของเลเซอร์ระดับที่ 1 แต่น้อยกว่า 5 เท่าของกำลังของเลเซอร์ระดับที่ 1
ตัวอย่างของเลเซอร์ระดับที่ 3R คือ เลเซอร์อาร์กอน ที่ให้แสงสีเขียว มีความยาวคลื่น 514.5 นาโนเมตร ที่มีกำลัง 5 มิลลิวัตต์ อย่ามองเข้าไปในลำแสงเลเซอร์หรือแสงสะท้อนของเลเซอร์
ระดับที่ 3B (Class 3B)
ประกอบด้วยเลเซอร์ทั้งในย่านที่ตามองเห็นและมองไม่เห็น
ย่านที่ตามองเห็น (ความยาวคลื่นช่วง 400 – 700 นาโนเมตร): ประกอบด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังอยู่ระหว่าง 5 มิลลิวัตต์ ถึง 500 มิลลิวัตต์
ย่านที่ตามองไม่เห็น (เช่น อินฟราเรด และอัลตราไวโอเลต): ประกอบด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังมากกว่า 5 เท่าของกำลังของเลเซอร์ระดับที่ 1 แต่ต่ำกว่า 500 มิลลิวัตต์
เลเซอร์ในระดับที่ 3 ทั้งสองระดับย่อยนี้ เป็นเลเซอร์ที่มีกำลังปานกลาง และจะพบในห้องทดลองวิจัยทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีอันตรายมากขึ้น ต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน
ระดับที่ 4 (Class 4)
เลเซอร์ในระดับนี้ คือเลเซอร์ทั้งหลายที่ไม่สามารถจัดอยู่ในระดับอื่น ๆ ข้างต้นได้ แต่จะเป็นเลเซอร์ที่มีกำลังสูงมาก (มากกว่า 5 มิลลิวัตต์) ลำแสงเลเซอร์ระดับนี้ถือว่ามีอันตรายต่อ นัยน์ตาและผิวหนังอย่างยิ่ง แม้กระทั่งลำแสงที่สะท้อนแล้วก็ยังสามารถทำอันตรายได้
ตัวอย่างเช่น เลเซอร์อาร์กอน ขนาด 2 วัตต์ หรือ นีโอดิเมียมแย็กเลเซอร์ชนิดพัลส์ 20 นาโนวินาที ที่มีความเข้ม 1 จูลต่อตารางเซนติเมตร โดยการใช้งานกับเลเซอร์เหล่านี้มีมาตรการโดยทั่วไปคล้ายกับระดับที่ 3 แต่จะรัดกุมยิ่งขึ้น เช่น ต้องใช้กุญแจในระบบควบคุมการเปิดปิดเลเซอร์
หมายเหตุ: กฎเกณฑ์ในการแบ่งระดับชั้นของเลเซอร์มีความแตกต่างกันไปตามประเทศ เช่น อังกฤษ หรือยุโรป ก็มีระบบหนึ่ง ในสหรัฐอเมริกา แต่ละรัฐก็อาจมีระบบที่ต่างกัน แต่ก็ต่างกันเฉพาะตรงข้อปลีกย่อยเท่านั้น ประเด็นหลักต่าง ๆ ยังคงเหมือนกัน เช่น เลเซอร์ชนิดพัลส์กำลังสูง จะเป็นระดับที่ 4 เสมอ
แว่นตานิรภัย Polarized คืออะไร
แว่นตานิรภัย Polarized คืออะไร
แว่นตา Polarized เป็นแว่นตาสำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกลางแจ้งซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดแสงจ้า และแสงสะท้อนได้ดีกว่าแว่นกันแดดปกติทั่วไป แว่นตาชนิดนี้เป็นที่นิยมในกิจกรรมกลางแจ้งเช่น กีฬากอล์ฟ, สกี, ตกปลา, ขี่, ปีนเขา, ดูหิมะและอื่นๆ
วิธีการทำงานเลนส์ Polarized?
เลนส์แว่นตา Polarized ออกแบบมาเพื่อลดผลของแสงจ้า (Glare)และแสงสะท้อน Reflect)โดยเฉพาะ ซึ่งแสงเหล่านี้เกิดจากเมื่อดวงอาทิตย์ส่องแสงลงมาสะท้อนออกกับพื้นผิวที่เป็นของแข็งหรือน้ำ เลนส์ Polarized ถูกออกแบบมาเพื่อกรองแสงที่มาทางแนวนอนทั้งด้านบนและแสงสะท้อนจากด้านล่าง โดยจะให้ผ่านเฉพาะแสงที่มาโดยตรงเท่านั้น ทำให้สามารถลดแสงที่จะเข้าสู่สายตาได้มากกว่าแว่นตากันแดดทั่วไป โดยเฉพาะในที่ที่มีแสงจ้าและแสงสะท้อนมากๆ เช่นในกิจกรรมกลางแจ้ง ทำให้มองเห็นภาพได้อย่างสบายตา ถือได้ว่าเลนส์แว่นตาแบบนี้ เป็นเลนส์แว่นตาสุขภาพ และแนะนำให้ใส่สำหลับผู้มีปัญหาสายตาที่ไวต่อแสง หรือแพ้แสง
ทำไมราคาถึงสูงกว่าแว่นกันแดดทั่วไป ?
แว่นกันแดดเลนส์ Polarized แพงกว่าแว่นกันแดดทั่วๆไปเพราะตัวเลนส์มีการเสริมแผ่นฟิลม์ Polarized ขึ้นมาอีกชั้นนึง เพื่อช่วยในการตัดแสงสะท้อน
การเลือกซื้อ
เมื่อวางเลนส์แว่นโพลาไรซ์ 2 อันมาวางซ้อนทับกัน แล้วค่อยๆบิดเลนส์อันบนหรืออันล่าง ให้ทำมุมกัน 90 องศา โดยแสงที่ผ่านจะค่อยๆมืดลงจนเป็นสีดำทึบ ( เมื่อเลนส์แว่นที่ซ้อนกันทำมุม 90 องศาต่อกัน) เป็นการยืนยันว่าเป็นเลนส์โพลาไรซ์จริง
โดยปกติทั่วไปแล้วแว่นตาเลนส์ Polarized นี้จะใช้ในการกรองแสงเป็นหลัก แต่ปัจจุบันเริ่มมีการใช้ในอุตสาหกรรมและการทำงานมากขึ้น ทำให้มีการคิดค้นแว่นตา Polarized ที่สามารถใช้ในอุตสาหกรรมหรือทางทหารได้ โดยแว่น Polarized ที่ใช้ในงานเหล่านี้จะต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยเหมือนแว่นนิรภัยทั่วไป ได้แก่ ANSI 87.1+, EN166 หรือ MIL ปัจจุบันแว่นตาประเภทนี้ในตลาดที่เป็นที่รู้จักได้แก่ Oakley รุ่น Industrial M
การเลือกแว่นตายิงปืน (Shooting glasses)
ในสหรัฐอเมริกามีผู้ได้รับบาดเจ็บที่ดวงตามากกว่าสามหมื่นรายต่อปีที่สัมพันธ์กับอาวุธปืนรวมทั้ง Paintball ดังนั้นการใส่เครื่องป้องกันดวงตาจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่รักการยิงปืน
การใส่แว่นป้องกันดวงตาและใส่เครื่องป้องกันหูจากเสียงดังถือเป็นมาตรการเพื่อความปลอดภัยขั้นพื้นฐานในการยิงปืน
จุดประสงค์หลักที่ต้องใส่แว่นป้องกันดวงตาเพื่อป้องกันเศษกระสุนปืนหรือวัตถุใดก็ตามที่กระเด็นเข้ามา เนื่องจากแว่นตามีหลายแบบ หลายวัสดุ จึงไม่ใช่ว่าแว่นตาทุกชนิดจะเหมาะสำหรับใช้ปกป้องดวงตาจากการยิงปืน บางครั้งการใส่แว่นตาพลาสติกราคาถูกๆอาจมีโอกาสทำอันตรายดวงตามากกว่าไม่ใส่แว่นตาเสียเลย เพราะเมื่อพลาสติกแตกกระจายออกอาจพุ่งเข้าตาทำให้เกิดอันตรายได้
แว่นตาที่เหมาะสำหรับใส่ในการยิงปืน (Shooting glasses) จึงควรมีคุณลักษณะพิเศษดังนี้
– ควรทำจากวัสดุที่ทนแรงกระแทกได้ดี
เช่น Polycarbonate, Trivex หรือ SR-91 เป็นต้น โดย Polycarbonate เป็นวัสดุที่นิยมมากที่สุดเพราะราคาถูก Trivex น้ำหนักเบากว่า ทนแรงกระแทกได้ดีกว่าและมีคุณสมบัติให้แสงผ่านได้เหนือกว่า Polycarbonate แต่ก็มีราคาแพงกว่าด้วย ส่วน SR-91 เป็นเลนส์โพลาไรส์ (Polarized lens) มีน้ำหนักเบา ให้ภาพคมชัดขึ้นแต่ก็ให้ความสว่างน้อยลงจึงไม่เหมาะกับการยิงปืนที่ต้องเล็งผ่านกล้องศูนย์ปืนนอกจากนั้นราคายังแพงอีกด้วย
– มีมาตรฐานรับรองเกี่ยวกับการทนแรงกระแทก
มีอยู่ 3 มาตรฐานที่ใช้กัน คือ American National Standards Institute (ANSI), Occupational Safety & Health Administration (OSHA), the U.S. Military โดย ANSI ควรมีอย่างน้อย ANSI Z87.1 แต่ถ้าได้ ANSI Z87.1+(plus) ก็จะดีมาก ยิ่งได้ MIL-V-43511C และ/หรือ OSHA Safety Standard 1910.133 ด้วยแล้วจะยิ่งดีขึ้นไปอีก
– เลือกคุณภาพของเลนส์แว่นตาให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ถ้าคุณเป็นพวกยิงแบบตะวันตก (Cowboy action shooter) ในระยะ 10 หลาก็อาจใช้แว่นที่ทำจาก Polycarbonate ที่ได้ ANSI Z87.1 ราคาไม่แพงก็ได้ แต่ถ้าคุณเป็นพวกยิงปืนระยะไกลต้องเล็งเป้าผ่านกล้องศูนย์ปืนก็ควรใช้แว่นที่ทำจาก Trivex ที่มีการเคลือบสารลดการสะท้อนแสงจะเหมาะกว่า
– ควรมีการปกป้องดวงตาจากด้านข้างด้วย
ถ้าคุณเป็นนักยิงปืนระบบต่อสู้ที่ต้องเคลื่อนไหวอยู่เสมอ (Action shooting) ก็ยิ่งต้องใส่แว่นตาที่มีการปกป้องดวงตาด้านข้างด้วย เพื่อป้องกันเศษวัตถุที่กระเด็นเข้ามาจากด้านข้าง หรือยิงเป้าที่เป็นเหล็กซึ่งอาจมีเศษเหล็กหรือเศษกระสุนกระเด็นเข้าตาตนเองหรือผู้อื่นได้ ดังนั้นแว่นตาสำหรับนักยิงปืนจึงควรมีการปกป้องด้านข้างด้วยเสมอ
– สีของเลนส์ นักยิงปืนลูกซองนิยมใส่แว่นสีเหลืองสว่างๆ สีส้มหรือสีม่วงเพราะทำให้วัตถุชัดขึ้นแยกได้ดีกับสีท้องฟ้า แต่ถ้าต้องเล็งเป้าหมายผ่านกล้องศูนย์ปืนนิยมใช้แว่นใส สีเหลืองอ่อน สีเทาอ่อน สีน้ำตาลแดงอ่อนและควรมีค่า Visible Light Transmission (VLT) มากกว่า 50 %
– แว่นตาควรสวมใส่สบายไม่หลุดง่าย
ถ้าคุณเป็นนักยิงปืนระบบต่อสู้ก็ควรมีขาแว่นที่คล้องใบหูไว้ไม่ให้หลุดง่ายหรือใส่สายรัดแว่น
– ป้องกันแสง UV
เลนส์ส่วนใหญ่ที่ได้มาตรฐาน ANSI จะมีคุณสมบัติป้องกันแสง UV ได้ดีแม้จะเป็นเลนส์ใสก็ตาม ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเลือกเลนส์ที่มีสีเข้มเพื่อหวังจะให้ป้องกันแสง UV ได้ดีขึ้น พยายามเลือกแว่นที่มีข้อความดังนี้ Blocks 99 % หรือ 100 % UV of rays, UV absorption up to 400 nm, meets ANSI UV requirements เป็นต้น
– กรอบแว่นควรเป็นพลาสติกหรือคาร์บอน (Carbon-reinforced frame)
เพราะเบาและมีความยืดหยุ่นกว่าเหล็กไม่หักง่าย
จากหลักเกณฑ์ข้างต้นคงช่วยให้เลือกแว่นตาที่เหมาะสมสำหรับนักยิงปืนได้ไม่ยากเพื่อปกป้องดวงตาที่มีค่าของคุณ
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็ป https://nipponsafety.com/ https://thailandsafety.com/, https://teamsafetysales.com/, https://jorporsafety.com/
ทีมเซฟตี้เซลส์ขายส่งอุปรณ์เซฟตี้ ถูก และดี ครบจบที่เดียว
ประสบการณ์กว่า 20 ปี เรามั่นใจด้วยการบริการลูกค้ากว่า 500,000 ราย
Line : @aro1988r
Tel : 02-017-4242
www.supersafetythailand.com
Mail : teamsafetysales@gmail.com