ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ อุปกรณ์ป้องกันตก
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันการตก
1. ผู้ใช้ระบบป้องกันการผลัดตกต้องลงมาถึงพื้นด้วยความปลอดภัย
2. ต้องใช้ระบบป้องกันการผลัดตกในบริเวณที่มีความสูงเกิน 0.5 เมตรขึ้นไป
3. ความสูงของการตกลงมาและแรงที่ร่างกายใช้เมื่อหยุดการตกต้องถูกทำให้ลดลงเหลือน้อยที่สุดด้วยขั้นตอนที่เหมาะสม
4. ระบบป้องกันการผลัดตกทุกชิ้นต้องมีแรงกดดันสูงสุดสำหรับร่างกายอยู่ที่ 6 กิโลนิวตัน
5. ลำตัวตกลงมาอย่างอิสระพร้อมน้ำหนักที่เหลือของการลงถึงพื้น 400 กก. หลังจากที่ตกลงมา 2เมตร น้ำหนักการเคลื่อนที่ ประมาณ 1960 กก. [w(pot) = m*g*h (in kg m2 s-2)
6. ระยะทางการหยุดกำหนดตาม ระยะทางแนวดิ่งมีหน่วยเป็นเมตร ซึ่งวัดจากตำแหน่งเริ่มต้นของการตกลงมาจนถึงตำแหน่งสุดท้าย โดยไม่รวมการยืดขยายของเข็มขัดแบบรัดทั้งตัว(Harness) และอุปกรณ์ต่อเชื่อม
อุปกรณ์ที่สามารถใช้ร่วมกันได้
ตามมาตรฐานEN363 ส่วนประกอบของระบบป้องกันการพลัดตกต้องประกอบด้วย
1. อุปกรณ์ยึด (Anchor) EN795 ถ้าเป็นไปได้ควรอยู่เหนือเอวของผู้ปฏิบัติงานและต้องเป็นตำแหน่งที่มั่นคง
2. ตะขอ (Connector) EN362 จะต้องทนต่อการกัดกร่อนผิวจะต้องเรียบ ไม่มีรอยเชื่อมและทำจากเหล็กที่ผ่านหล่อขึ้นรูป หรือปั๊มขึ้นรูป
3. ระบบป้องกันการผลัดตก(system) EN363 ช่วยป้องกันการผลัดตกของผู้ปฏิบัติงาน ควรมีการเลือกให้เหมาะสมกับหน้างาน โดยมีหลักการเลือกดังนี้
3.1 ระยะทางระหว่างจุดยึดถึงพื้นที่ปฏิบัติงาน
3.2 บริเวณ การเคลื่อนไหวขณะปฏิบัติงาน
4. ตะขอ (Connector) EN362 คุณสมบัติเช่นเดียวกับข้อที่ 2 แต่จะต้องเป็นแบบ Snaphook
5. เข็มขัดแบบรัดทั้งตัว (Harness) EN361 เป็นอุปกรณ์ดึงผู้ปฏิบัติงาน ถ้ามีการตกผู้ปฏิบัติงานจะไม่ได้รับอันตราย จะต้องทีจุดเชื่อมต่ออย่างน้อย 1 จุด โดยต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน ทำจากวัสดุสังเคราะห์ เช่น โพลีเอไมด์ หรือ โพลีเอสเตอร์
ทีมเซฟตี้เซลส์ขายส่งอุปรณ์เซฟตี้ ถูก และดี ครบจบที่เดียว
ประสบการณ์กว่า 20 ปี เรามั่นใจด้วยการบริการลูกค้ากว่า 500,000 ราย
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็ป https://nipponsafety.com/ https://thailandsafety.com/, https://teamsafetysales.com/, https://jorporsafety.com/
Line : @aro1988r
Tel : 02-017-4242
www.supersafetythailand.com
Mail : teamsafetysales@gmail.com