รู้จักวัสดุดูดซับประเภทต่างๆ
เคยไหมเวลาที่คุณต้องทำงานแล้วต้องเจอสิ่งสกปรกกวนใจคุณบ่อยครั้ง โดยเฉพาะคราบที่ซับล้างออกยาก เช่น คราบน้ำมัน คราบสารเคมี ไม่ใช่แค่ทำให้คุณหงุดหงิดใจเพียงอย่างเดียว แต่คราบสกปรกจำพวกนั้นยังเป็นตัวการทำลายสุขภาพของคุณด้วย เพราะต้องสูดดมเป็นเวลานาน ๆ ต้องสัมผัสบนพื้นชนิดหลีกเลี่ยงได้ยาก อย่างไรก็ตามคราบสกปรกที่ว่านี้สามารถดูดซับออกไปได้อย่างง่ายดายจากสิ่งที่เรียกว่า “วัสดุดูดซับ” มาดูกันว่าวัสดุดูดซับแต่ละประเภทเป็นอย่างไรบ้าง
วัสดุดูดซับน้ำมัน
ของเหลวประเภทน้ำมัน เป็นสารอินทรีย์วัตถุที่ขจัดได้ยากพอสมควร ยิ่งเป็นประเภทน้ำมันเครื่องจักรแล้วยิ่งทำความสะอาดยากแถมยังมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ การทำความสะอาดน้ำมันจึงต้องใช้น้ำยาความสะอาดหลายขั้นตอน แต่ถ้าหากมีวัสดุช่วยรองรับคราบน้ำมันคงจะเป็นเรื่องที่ดีกว่า มาทำความรู้จักกับวัสดุดูดซับน้ำมัน ว่ามีประเภทอะไรบ้างและใช้งานอย่างไรบ้าง
วัสดุดูดซับน้ำมันชนิดเม็ด
เป็นวัสดุชนิดเม็ดใช้โรยบนพื้นทางเดิน แหล่งน้ำ แต่ต้องใช้บนพื้นที่ไม่ใหญ่และไม่ลึกมาก วัสดุที่ดีต้องเลือกดูดซับเฉพาะน้ำมัน คัดแยกน้ำออกได้ เมื่อดูดซับน้ำมันจนอิ่มตัวแล้วจึงตักออกไปกำจัดทิ้ง วัสดุชนิดนี้ใช้งานง่าย ใช้ครั้งเดียวทิ้ง แต่ขั้นตอนการใช้ต้องระมัดระวังมากที่สุด เพราะมีขนาดเล็กอาจปะปนไปกับวัสดุประเภทอื่น ๆ จึงต้องใช้เฉพาะส่วน
วัสดุดูดซับน้ำมันชนิดถุงหรือไส้กรอง
ใช้สำหรับวางใต้เครื่องจักร บริเวณท่อน้ำทิ้ง บ่อบำบัดน้ำเสีย ในบ่อน้ำขนาดเล็ก เพื่อดูดน้ำมันออกจากน้ำก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ เมื่อวัสดุนี้ดูดน้ำมันจนอิ่มตัวจึงหยิบขึ้นมาเพื่อกำจัดทิ้ง ข้อระวังการใช้ต้องบรรจุกับไส้กรองเพื่อกันการรั่วซึมออกมา
วัสดุดูดซับน้ำมันชนิดแผ่น/ท่อน
ไว้สำหรับวางใต้เครื่องจักร วางบนพื้นในจุดที่มีน้ำมันเลอะเปรอะเปื้อนประจำเพื่อดูดซับควบคุมการแพร่กระจายคราบน้ำมัน มีทั้งชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง และใช้ซ้ำหลายครั้ง เช่น แผ่นบางคล้ายกระดาษทิชชูแต่ไม่เป็นขุยง่าย แผ่นหนาคล้ายผ้า แบบท่อนคล้ายหมอนข้าง ซึ่งปริมาณการดูดซับจะขึ้นอยู่กับความหนาบางของวัสดุนั้น เมื่อใช้แล้วต้องรีดน้ำมันทิ้งหรือซักตากแห้งก่อนนำมาใช้อีกครั้ง
วัสดุดูดซับสารเคมี
โรงงานเป็นสถานที่หนึ่งที่คนทำงานใกล้ชิดกับสารเคมีมากที่สุด การเลือกใช้วัสดุดูดซับสารเคมีจึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ไม่ต่างจากเครื่องแต่งกายที่รัดกุม ดูกันว่าวัสดุดูดซับสารเคมีมีอะไรบ้าง ใช้งานอย่างไรบ้าง
วัสดุดูดซับสารเคมีแบบรองพื้น
เป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไว้ปูพื้นเพื่อรองรับสารเคมีตกลงพื้น วิธีใช้คือการปูพื้นเรียงชิดติดกัน เพื่อป้องกันสารเคมีซึมลงพื้นผิว เราเรียกวัสดุดูดซับสารเคมีแบบรองพื้นนี้ว่า “แผ่นดูดซับสารเคมี” ส่วนมากวัสดุชิ้นนี้ออกแบบมาให้ใช้งานได้หลายครั้ง
วัสดุดูดซับสารเคมีแบบหมอน
ดูคล้าย ๆ หมอนหนุน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ ทำจากวัสดุ Polypropylene 100% จึงให้ความแข็งกว่าหมอนหมุน วัสดุนี้ซึมซับสารเคมีได้อย่างยอดเยี่ยม สังเกตได้ง่ายที่สุดคือเป็น สีเหลือง บ้างก็ออกแบบเป็นสีเขียว ใช้งานได้หลายครั้ง
วัสดุดูดซับสารเคมีแบบท่อนยาว
ออกแบบมาให้มีลักษณะยาวคล้ายงู อาจยาวประมาณ 2-4 เมตร เพราะรูปแบบการใช้ต้องวางล้อมซ้อนทับกันได้หลายชั้น หรือวางล้อมเป็นวง เช่น วางล้อมขาตั้งเครื่องจักร เสา สำหรับบริเวณที่สารเคมีหยดลงเป็นปริมาณมากหรือรั่วไหลเป็นเวลาต่อเนื่อง รูปแบบนี้จึงมีความสามารถดูดซับได้ยาวนานกว่าแบบอื่น ๆ
วัสดุดูดซับสารเคมีแบบขดเป็นวงล้อม
ดูเผิน ๆ อาจมองว่าเป็นหมอนข้างก็ได้ แต่อย่าได้เผลอไปกอดเชียว แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะมีรูปแบบยาวกว่าหมอนข้างหลายเมตร เช่น 1 เมตร 2 เมตร เลยก็ได้ วัสดุดูดซับสารเคมีแบบขดเป็นวงล้อมนี้จะสั้นกว่าข้างต้น แต่ประเภทนี้เหมาะกับพื้นที่ที่จำกัด
แผ่นดูดซับสารเคมี
แผ่นดูดซับสารเคมี มีหลายรูปแบบทั้งแบบแผ่นม้วนเล็ก แผ่นม้วนใหญ่ แต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นคือแผ่นแบบแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพราะสามารถเช็ดและปูรองพื้นได้ ส่วนมากผลิตสีเหลือง ส่วนสีขาวไว้สำหรับดูดซับน้ำมัน หรืออีกประเภทสีเทาสำหรับดูดซับทั้งสารเคมีและน้ำมันในคราวเดียว
ลักษณะแผ่นดูดซับสารเคมีที่ดีนั้นต้องสามารถดูดซับสารเคมี กรด ด่างได้มากถึง 500-700 ml. ต่อแผ่น มีน้ำหนักเบา ผลิตจาก Polypropylene เพราะเป็นวัสดุที่ดูดซับสารเคมีได้อย่างยอดเยี่ยม แผ่นดูดซับสารเคมีนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดในกระบวนการอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมก่อสร้าง
แผ่นดูดซับสารเคมี มักจะใช้วางบนพื้นเพื่อรองรับสารเคมีที่ตกลงพื้น ไม่ให้สารเคมีซึมลงพื้นผิว หรือใช้เช็ดในบริเวณที่สารเคมีหกไหลตลอดเวลา สารเคมีเหล่านั้นเมื่อซึมลงแผ่นต้องจับตัวกัน หากดูดซึมสารเคมีจนเต็มอิ่มแล้ว ต้องไม่ล้นออกนอกแผ่น ที่สำคัญเมื่อดูดซับเต็มกำลังแล้วต้องคงรูปไม่เปลี่ยนสภาพ ไม่เป็นขุย ไม่พองฟู
เลือกวัสดุอย่างไรให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม
- หากเป็นวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ต้องเป็นวัสดุที่ทำจากธรรมชาติ เช่น เยื่อไม้ ฝ้าย ทราย ไม้เลื่อย เพราะสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
- หากเป็นวัสดุที่ใช้ซ้ำหลายครั้งต้องดูดซับได้ดี ไม่เปลี่ยนสภาพง่าย ไม่เปื่อยยุ่ยง่าย ต้องทนต่อกรด ด่าง และสารอย่างอื่นได้อย่างดีไม่เกิดการรั่วไหลออกด้านข้าง
- ต้องเป็นวัสดุทนต่อเชื้อเพลิง ไม่ติดเปลวไฟได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับเชื้อเพลิง
วัสดุดังกล่าวไม่เพียงช่วยรักษาความสะอาด แต่ยังเป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายในที่ทำงานที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้หากคุณต้องทำงานใกล้ชิดกับน้ำมันและสารเคมี จึงจำเป็นต้องมีวัสดุดูดซับประเภทเหล่านี้เพื่อปกป้องตัวคุณและปกป้องธรรมชาติไว้ให้มากที่สุด